Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / ภูมิคุ้มกัน / EP. 281: โซเดียมในอาหารแช่แข็ง / CDC สหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อก่อ COVID-19 ใหม่ เชื่อดีหรือไม่
54:46
EP. 281: โซเดียมในอาหารแช่แข็ง / CDC สหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อก่อ COVID-19 ใหม่ เชื่อดีหรือไม่
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
EP. 281: โซเดียมในอาหารแช่แข็ง / CDC สหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อก่อ COVID-19 ใหม่ เชื่อดีหรือไม่
วันที่เผยแพร่ : 28 ม.ค. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

โครงการติดตามปริมาณโซเดียมในอาหารพร้อมบริโภคและกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการรณรงค์ลดเค็ม ลดโรค สุ่มสำรวจอ่านฉลากค่าโซเดียมกลุ่มอาหารจานหลัก แบบแช่เย็น แช่แข็ง  สำหรับอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน เพื่อผลักดันให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือนอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภคเพื่อเลี่ยงภาวะเสี่ยงไตวาย
ผลสำรวจอาหารจำนวน 53 ตัวอย่าง
1.กลุ่มอาหารจานด่วน ได้แก่ ผัดไทย ข้าวผัดปู ข้าวผัดกะเพรา จำนวน 35 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 450 – 1,390 มิลลิกรัม 
2. กลุ่มอาหารอ่อน ได้แก่ ข้าวต้มหมู เกี๊ยวกุ้ง โจ๊กหมู จำนวน 15 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 380 – 1,340 มิลลิกรัม  
3.กลุ่มขนมหวาน ได้แก่ บัวลอยมันม่วงมะพร้าวอ่อน สาคูถั่วดำมะพร้าวอ่อน บัวลอยเผือก จำนวน 3 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 210 – 230  มิลลิกรัม

      รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ  อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม  กล่าวว่า คนไทยกินเค็มเกินความต้องการของร่างกายถึงเกือบ 2 เท่า เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยปัจจุบันสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (กลุ่มโรค NCDs) ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จากผลงานวิจัยล่าสุดที่ได้รับการพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension ชื่อ Estimated dietary sodium intake in Thailand: A nation-wide population survey with 24-hour urine collections (J Clin Hypertens. 2021;00:1-11.) ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชน 2,388 คน จากทุกภาคทั่วประเทศไทย พบว่า  ค่าปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยในประชาชนไทยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ขณะที่ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ ผลการวิจัย พบ ปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยสูงที่สุดในประชากร
1.ภาคใต้ จำนวน 4,108 มก./วัน 
2.ภาคกลาง จำนวน 3,760 มก./วัน 
3. ภาคเหนือ จำนวน 3,563 มก./วัน 
4.กรุงเทพมหานคร จำนวน 3,496 มก./วัน
5.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน  3,316 มก./วัน 

ช่วงคิดก่อนเชื่อ ตอน CDC สหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อก่อ COVID-19 ใหม่ เชื่อดีหรือไม่  

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
ตอนถัดไป
ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป