วัคซีนป้องกันไวรัสก่อโรค COVID-19 นั้น ต่างมุ่งที่จะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีที่จับหนามโปรตีน (spike protein) ของเชื้อไม่ให้เข้าสู่เซลล์ของมนุษย์
o ถ้าเป็นวัคซีนเชื้อตาย การยับยั้งเชื้อนั้นจะเกิดจากแอนติบอดีหลายชนิด เพราะตำแหน่งบนเปลือก (capsid) ของเชื้อไวรัสที่แสดงความแปลกปลอม (antigenicity) ซึ่งเรียกว่า epitope (ออกเสียงว่า เอ็พ-พิ-โทป) นั้น มีหลายตำแหน่ง
o แต่ถ้าเป็นวัคซีนแบบ viral vector นั้น จะมีการสร้างหนามโปรตีน (spike protein) ของไวรัสออกมากระตุ้นแอนติบอดีของมนุษย์ ซึ่งอาจมีเพียงหนึ่งชนิดหรือไม่กี่ชนิด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการทำงานของวัคซีนชนิด mRNA ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นแอนติบอดีต่อโปรตีนที่เป็นหนาม
• ข้อด้อยของแวคซีนที่มุ่งกระตุ้นแอนติบอดีต้านตัวไวรัสคือ การกลายพันธุ์นั้น มีผลต่อการทำงานของแอนติบอดี ทั้งนี้เพราะแอนติบอดีจะมีความจำเพาะกับ epitope จากงานวิจัยเรื่อง Computational epitope map of SARS-CoV-2 spike protein ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Computational Biology ของปี 2021 ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสังเกตหาตำแหน่งที่ควรเป็น epitope ของหนามโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งพบว่า น่าจะมี 9 ตำแหน่ง ดังนั้น ถ้าตำแหน่งใดมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการกลายพันธุ์ ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มุ่งสร้างแอนติบอดีต่อหนามโปรตีนนี้อาจเกิดปัญหาได้
o ที่จริงแล้วภูมิคุ้มกันชนิดที่ไม่ต้องกังวลกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคคือ เม็ดเลือดขาวชนิด T-cells มีนักวิจัยหลายคนได้มองที่ประเด็นนี้มานานพอควร ตั้งแต่เริ่มมีข่าวการพัฒนาวัคซีน และได้มีบทความวิชาการในวารสาร Nature ฉบับเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2021 เรื่อง ‘Killer’ T Cells Could Boost Covid Immunity Amid New Variants (Killer' T Cells สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกัน Covid ท่ามกลางสายพันธุ์ใหม่) ซึ่งกล่าวถึงบทบาทสำคัญของ T-cells ในการต่อสู้เชื้อไวรัสโดยไม่สนใจว่าจะกลายพันธุ์หรือไม่
ติดตามรายละเอียดงานวิจัยใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่ค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้วมาอธิบายให้ฟัง