มีงานวิจัยเกี่ยวกับอาการเมื่อติดเชื้อ COVID-19
• โคโรนาไวรัสเป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่น้อยคล้ายเป็นหวัดธรรมดาไปจนถึงอาการหนักจนตายเนื่องจากความเสียหายของเซลล์ปอด
• ผ่านไปเพียงราว 5 เดือนของการระบาดของ COVID-19 ปรากฏว่าอาการป่วยของผู้เคราะห์ร้ายที่ติดเชื้อ SARS CoV 2 นั้น เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิมที่เคยก่อแค่ปัญหาของทางเดินหายใจคือ ไอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว และหายใจลำบาก ไปเป็นก่อปัญหาในหลายอวัยวะส่งผลให้เกิดการตายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
• บทความเรื่อง Unusual Symptoms of Coronavirus: What We Know So Far เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นั้นได้บรรยายถึงประเด็นที่ SARS CoV 2 ก่ออันตรายในคนไข้ในหลายรูปแบบซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเกิดจากไวรัสกลุ่มนี้ในคน ได้แก่
o เกิดผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เคยพบในคนไข้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งเมื่ออาการนี้เกิดในคนไข้ Covid-19 นั้นก็หมายความว่า ผิวหนังได้กลายเป็นเป้าหมายของ SARS-CoV-2 ไปแล้ว หรือเป็นผลข้างเคียงของการทำงานเกินจำเป็นของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดในคนไข้ Covid-19 ทุกคน และที่สำคัญคือ ต้องรอผลจากการศึกษาของหมอผิวหนังที่ได้เริ่มศึกษาในประเด็นนี้แล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจว่า การเกิดผื่นนี้อาจนำไปใช้การคัดกรองคนไข้ Covid-19 ที่น่าจะมีอาการป่วยแบบซับซ้อน
o อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นข้อสังเกตของแพทย์ที่เชี่ยวชาญในระบบทางเดินอาหารที่กังขาว่า SARS-CoV-2 ไม่น่าจะรุกรานเฉพาะทางเดินหายใจเท่านั้น เนื่องจาก ACE2 ซึ่งเป็น receptor ของ SARS-CoV-2 นั้น มีมากมายบนเซลล์ของระบบทางเดินอาหารและพร้อมรับไวรัสที่ถูกกลืนลงท้องพร้อมน้ำลาย ซึ่งส่งผลให้พบว่าผู้ป่วยบางคนมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน ดังที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่อง Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร the New England Journal of Medicine ว่า คนไข้ 1,099 คนจาก 552 โรงพยาบาลใน 30 จังหวัดของจีนนั้น ร้อยละ 3.8 มีอาการท้องเสีย ซึ่งในช่วงแรกนั้นแพทย์เข้าใจว่าผู้ป่วยดังกล่าวไม่ได้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างไรก็ดีสุดก็พบว่า เป็นความเข้าใจผิดของแพทย์ที่มักมุ่งเน้นไปที่อาการของทางเดินหายใจมากกว่า
มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวข้องอีกบ้าง ฟังจาก ดร.แก้ว กังดาลอำไพ นักพิษวิทยา