จากความสนใจของคนรุ่นใหม่ต่อรูปแบบการแสดงโขนในสมัยกรุงศรีอยุธยา การศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานหลายด้าน การเปรียบเทียบกับท่ารำโนรา การทดลองตีความหมายใหม่และหัวใจที่ต้องการปฏิบัติธรรมด้วยงานศิลปะสู่การจัดงานแสดงโขนสมมติอยุธยาขึ้น ณ โบสถ์วัดปราสาท นนทบุรี โดยเปิดรอบ การแสดงเมื่อ 21-23 ธันวาคม 2563 ให้สาธารณชนเข้าชมฟรี พร้อมบริจาคช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์พระ อุโบสถเก่าแก่กว่า 400 ปีให้ยั่งยืนต่อไป
งานศิลปะบำรุงธรรม โขนสมมติอยุธยา ตอนสำมนักขาหาคู่ สร้างสรรค์โดยคณะคิดบวกสิปป์-อาภรณ์งาม สตูดิโอ จัดการแสดงโดยคณะนาฏศิลป์คิดบวกสิปป์ร่วมกับอาภรณ์งามสตูดิโอ โขนโบราณ ผู้แสดงสวม หน้ากากทั้งหมดแม้แต่พระนางยักษ์ตัวโขนไม่ใส่เสื้อเปลือยบน การร่ายรำ กระบวนการนุ่งผ้าที่ตีความ จากหลักฐานภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา การสื่อสารดำเนินเรื่องด้วยพากย์เจรจาเท่านั้นไม่มีการขับร้องส่ง เพลง บทพากย์ปรับปรุงจากฉบับรัชกาลที่ 1 ปี่พาทย์เครื่องห้าประสมวงอย่างจิตรกรรมโบราณ
เลือกสรร เพลงหน้าพาทย์ที่เหมาะเจาะมาใช้ในการแสดง อาทิ โหมโรงเย็น วา เชิด กราวใน เสมอเข้าที่ตระนิมิตร ปลูกต้นไม้นกกิ้งโคลง แม่ลูกอ่อนไปตลาด ลงสรง ฯลฯ และการใช้นางบุญชมเป็นสัญญะของการเชื่อมโยงพิธีกรรมความเชื่อ พื้นที่ เวทีบรรยากาศและการสะท้อนพลังงานของผู้ชมสู่ตัวงานนาฏกรรม