การผลิตซ้ำความทรงจำเกี่ยวกับพุ่มพวง ดวงจันทร์ มักจะวนเวียนอยู่กับเพลงดังของเธอสำเนียงคนภาค กลาง-คนเมือง ทว่าในอีกฟากฝั่งหนึ่งของวัฒนธรรมดนตรีที่เรียกว่า “หมอลำเพลิน-ลำซิ่ง” และ “รถแห่” ปรากฏว่า เพลงของพุ่มพวงถูกนำไปใช้งานมิใช่น้อยเช่นกัน งานเพลงพุ่มพวงเป็นแรงพลังที่สร้างนักร้องรุ่นใหม่จากดินแดนอีสาน ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงลูกทุ่งได้ไม่แพ้เพลงหมอลำเลยทีเดียว
.
ช่วงฉากหนึ่งในประวัติชีวิต มีคำเล่าว่าเมื่อครั้งครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ พาเด็กสาวเสียงดีที่ครูรับเป็นบุตรบุญธรรมและ หมายปั้นให้เป็นนักร้องดังไปกราบครูมนต์เมืองเหนือ เพื่อให้ตั้งชื่อใหม่เป็นมงคลนาม ทีแรกครูมนต์ตั้งใจจะให้ชื่อเธอ ว่า “พุ่มพวง เพชรอีสาน” เพราะช่วงนั้นลูกทุ่งอีสานกำลังเริ่มต้นที่จะมีอนาคตในสังคมไทย แต่เธอแย้งว่าหนูไม่ใช่คน อีสาน เดี๋ยวใครมาพูดอีสานด้วยแล้วหนูพูดไม่ได้คนจะว่าเอา ครูมนต์เลยเปลี่ยนเป็น “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ซึ่งความยิ่ง ใหญ่และดำรงอยู่ในที่สูง ซึ่งสุดท้ายก็เป็นจริงดั่งคำที่ครูมนต์ตั้ง ชื่อพุ่มพวง เพชรอีสาน จึงถูกลบเลือนไป
.
ในวาระ 32 ปีแห่งการจากไปของราชินีลูกทุ่ง เพลงดนตรีวิถีอาเซียน ตอนนี้ จะพาไปสำรวจ #เสียงอีสาน ที่ซุกซ่อนอยู่ในผลงานของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ผ่านปลายปากกาของครูดอย อินทนนท์ ผ่านเสียงซอของครูทองฮวด ฝ่ายเทศ เสียงพิณของครูทองใส ทับถนน