ในศตวรรษที่20-21 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียที่เรียกขานกันว่า “บอลลีวู้ด” Bollywood นั้น มีอิทธิพลต่อสังคมวัฒนธรรมอาเซียนไม่ น้อยไปกว่าภาพยนตร์อเมริกัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี คนพื้นถิ่นอาเซียน (ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนชาติพันธุ์อินเดีย) ได้ดู ชมภาพยนตร์อินเดียอย่างเพลิดเพลิน
งานบอลลีวูดนั้นเปี่ยมไปด้วยรสชาติของความสนุกสนานบันเทิง จินตนาการเพ้อฝัน ความกล้าหาญ เสียสละ การปรุงอารมณ์ครบเครื่อง สิ่งพิเศษมากคือแฟนหนังยังได้ชมได้ฟังบทเพลงจำนวนมากมายที่ดาราในเรื่องใช้สื่อสารกันอย่างออกรส ร่วมเต้นรำไปตามจินตนาการ จนในที่สุด “เพลงดังหนังแขก” ก็กลายร่าง กลายสำนวนภาษาจากต้นฉบับมาผสมกลมกลืนกับสังคมอาเซียนโดยปริยาย
บทสำรวจเพลงดังหนังแขกใน e.p.1 นี้เป็นการปูพื้นที่มาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์บอลลีวูด การยกตัวอย่างอิทธิพล ของราชินีเพลงบอลลีวู้ดในตำนาน ลาตา มานเกชคาร์ Lata Mangeshkar เจ้าของเสียงขับร้องเพลง sayonara เมื่อปี 1966 อันโด่งดัง ที่กลายมาเป็นต้นแบบของเพลงลูกทุ่งไทย “วอนลมฝากรัก” และเพลงทำนองเดียวกันในชื่ออื่นๆของ ศิลปินในภูมิภาคนี้ตัวอย่างปรากฏการณ์ Dhoom จนถึงตัวอย่างความนิยมการคัฟเวอร์เพลงบอลลีวู้ดในกลุ่มคน อาเซียนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตในโลกโซเชียลมีเดียเช่นกรณีสาวมาเลย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีเพลงฮินดีสมัยใหม่อย่างเช่นนาเดีย ฟาร์ชาฮ์ Nadia Fharshar